ปานคืออะไร
ปาน คือ บริเวณของผิวหนังที่มีสีต่างจากผิวหนังบริเวณอื่น ส่วนใหญ่เป็นมาตั้งแต่เกิดหรือหลังจากคลอดไม่นาน แหล่งต้นกำเนิดของปานที่แตกต่างกันทำให้สีของปานแตกต่างกันออกไป โดยอาจเป็นสีแดง น้ำตาล ชมพู หรือสีเขียว และอาจจะนูนหรือแบนราบก็ได้
ประเภทของปาน
- Port-wine Stainsมีสีชมพู แดง หรือม่วง เป็นจุดๆ บนผิวหนังโดยมีขนาดแตกต่างกันไป
- Hemangiomasมีลักษณะแบนหรือนูนกว่าผิวหนังเล็กน้อย มีสีแดงสดหรือแดงคล้ำ อาจเกิดบนใบหน้า ศีรษะ และคอ แต่อาจพบได้ตามลำตัว มักเกี่ยวข้องกับการที่เส้นเลือดในสมองมีลักษณะผิดรูป ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- Strawberry hemangioma ปานที่มีลักษณะเป็นจุดสีแดงนูน เล็ก นุ่ม และบีบได้ ส่วนใหญ่จะขึ้นบนใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอกหรือหลัง ทารกแรกเกิดอาจมีปานแดงชนิดนี้ได้ มักฝังลึกอยู่ในผิวหนัง ทำให้เห็นเป็นสีน้ำเงินหรือม่วง ขนาดของปานขยายเร็วในช่วง 6 เดือนแรกก่อนค่อย ๆ หดเล็กลง ร้อยละ 50 หายไปตอนอายุ 5 ปีและร้อยละ 90 หายไปตอนอายุ 9 ปี หรือหายไปตอนอายุ 7 ปีโดยเฉลี่ย
- Cavernous Hemangioma มักเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง ส่วนมากจะมีสีแดงคล้ำอมเขียว
- Macular Stain หรือปานเส้นเลือดแดงบางครั้งเรียกว่า salmon patch หรือ stork bites คือ ปานที่มีลักษณะเป็นสีแดงหรือชมพูคล้ายกับเนื้อปลาแซลมอน มีลักษณะเรียบ พบทั่วไป และพบบ่อยถึง 1 ใน 3 ของเด็กแรกเกิด มักปรากฏบริเวณท้ายทอย เปลือกตา หรือหน้าผากตรงกลางระหว่างหัวคิ้ว โดยทั่วไปจะหายไปเองภายในไม่กี่เดือน
- Cafe-au-lait Spotsเป็นปานสีน้ำตาลอ่อนคล้ายสีของกาแฟผสมนม มีลักษณะกลมหรือรี มีขอบเขตชัดเจน พบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งปานชนิดนี้สามารถขยายขนาดมากขึ้นได้ตามวัยและคงอยู่ต่อไปตลอดชีวิต หากมีรอยโรคแบบนี้มากกว่า 6 รอยโรคหรือมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น NF type 1 (Neurofibromatosis type 1)
- ไฝมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มักเกิดขึ้นหลังจากคลอดแล้วไม่นานและเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของเซลล์เม็ดสีที่เรียกว่า melanocytes มีทั้งแบบนูนหรือเรียบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
- ไฝตั้งแต่แรกเกิด มักเป็นก้อนนูน มีขนขึ้นบริเวณไฝได้ด้วยและมีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป
- ไฝที่เกิดขึ้นภายหลัง มีลักษณะเรียบ มักเป็นบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด
- Mongolian spotsหรือปานมองโกเลียน โดยส่วนใหญ่ปานชนิดนี้จะแบนราบ มีสีเขียวปนเทาหรือน้ำเงินเทาและมักอยู่บริเวณหลังส่วนล่างจนถึงก้นกบ ไม่เป็นอันตรายและมักจางหายไปเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
- Congenital hairy nevus (giant hairy nevus, bathing trunk nevus)มีลักษณะเป็นเนื้อนูน มีสีเข้มและมักจะมีขนปกคลุม ส่วนใหญ่ปานประเภทนี้มีขนาดใหญ่ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจกลายเป็นเนื้องอกได้ จึงควรกำจัดตั้งแต่ในช่วงที่ยังสามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของปานด้วย
ปานแดง
ปานแดง คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด มีสาเหตุจากเส้นเลือดใต้ผิวหนังขยายขนาดมากกว่าปกติและผิดรูปถาวร มักเกิดบนใบหน้า ลำคอและจะไม่จางหายไปเอง อีกทั้งยังมีสีเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น
ปานแดงมี 3 ประเภทหลักๆ คือ Port-wine Stains, Strawberry hemangioma และ Macular Stain
ปานแดงเส้นเลือดฝอย (Port-Wine stain) คืออะไร?
ปานแดงชนิดนี้มีลักษณะเป็นปื้นสีชมพูหรือแดงขอบเขตชัด เกิดจากหลอดเลือดที่ขยายตัวผิดรูปถาวร ส่วนใหญ่มักอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย พบบ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ ตำแหน่งอื่นที่อาจพบได้แก่ หนังศีรษะ อก หลัง แขนและขา โดยทั่วไปพบได้ประมาณร้อยละ 0.3-0.5 ของทารกแรกเกิด เมื่ออายุมากขึ้น ปานจะมีสีเข้ม นูนหนาและขรุขระมากขึ้น แต่ไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ ปานแดงนี้ไม่สามารถจางหายไปได้เอง ซึ่งทำให้คนไข้เกิดความกังวลใจหรือเสียความมั่นใจในตนเองได้
มีวิธีป้องกันปานแดงหรือไม่?
- ปานแดงเส้นเลือดฝอย (Port-wine stains) หรือ nevus flammeus ไม่สามารถป้องกันได้
- ปานแดงในเด็กเล็ก (Strawberry hemangioma) หายไปได้เมื่ออายุประมาณ 7 ปี
- ปานเส้นเลือดแดง (Stork bites) พบบ่อยถึง 1 ใน 3 ของเด็กแรกเกิด จะหายไปเองภายในไม่กี่เดือน
การเลเซอร์รักษาปานแดง
- เลเซอร์สำหรับรักษาหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยเลเซอร์ที่นิยมที่สุดคือเลเซอร์ชนิด Pulsed dye เช่น VBeam ซึ่งการตอบสนองต่อการรักษาขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของรอยโรคในคนไข้แต่ละคนด้วย
- Pulsed dye laser หรือ V Beam ใช้เทคโนโลยี Advanced Micro-Pulse Technology มีความยาวคลื่นแสงอยู่ที่ 595 นาโนเมตร ซึ่งมีความจำเพาะกับเม็ดเลือดแดงเพราะพลังงานเลเซอร์จะถูกดูดซับโดย Oxyhemoglobin จึงสามารถส่งผ่านลงไปเพื่อทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกติได้ ทำให้สามารถลดรอยโรคที่มีสีแดงได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ได้ด้วย ทำได้ทันทีไม่ต้องใช้ยาชา
ข้อควรระวังเกี่ยวกับปาน
- ปานอาจเป็นอาการแสดงร่วมในโรคอื่น
- หากพบบริเวณหน้าผากและหนังตาบนหรือพบความผิดปกติของตาและระบบประสาท อาจเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่า Sturge-Weber syndrome
- ปานแดงเส้นเลือดฝอยอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกง่าย แผลเปิด หรือ ปานมีการเติบโตที่เร็วผิดปกติ เป็นต้น หากสีของปานเปลี่ยนแปลงไป ผิวหนังนูนหรือบวมมากขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique