สรีรวิทยาของการงอกของเส้นผม
เส้นผมเป็นส่วนหนึ่งของหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งประกอบไปด้วย keratin ที่สร้างมาจาก hair matrix โดยการงอกของเส้นผมจะไม่เหมือนกับเล็บเพราะเส้นผมไม่ได้งอกตลอดเวลา กล่าวคือ มีวงจรของการเจริญเติบโต ดังนี้
- Anagen คือ ช่วงที่เส้นผมมีการเจริญเติบโต กินระยะเวลาประมาณ 2-6 ปี โดยช่วงระยะเวลานี้ hair follicle จะอยู่ลึกที่สุดในชั้น dermis หรือ ประมาณ 5 เซนติเมตร เส้นผมจะมีสีเข้ม มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก ซึ่ง 85-90% ของเส้นผมบนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้
- Catagen เมื่อสิ้นสุดระยะ Anagen จะเข้าสู่ระยะ Catagen ซึ่งกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยระยะนี้ hair follicle จะเลื่อนสูงขึ้นและเริ่มแยกตัวออกจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยง พบเพียง 1% ของเส้นผมบนหนังศีรษะ
- Telogen ระยะสุดท้ายของการเจริญเติบโตของเส้นผม กินเวลาประมาณ 3 เดือน เป็นระยะที่เส้นผมเลื่อนตัวขึ้นไปจนอยู่ต่ำกว่าช่องเปิดของต่อมไขมัน (sebaceous orifice) เพียงเล็กน้อย โคนผมมีลักษณะคล้ายกระบอง (club shaped) พบเส้นผมในระยะนี้ประมาณ 10-15% ของเส้นผมบนหนังศีรษะทั้งหมด
ผมบาง ผมร่วง หัวล้าน (Alopecia)
ในภาวะปกติของร่างกาย มีเส้นผมบนหนังศีรษะโดยเฉลี่ย 100,000 เส้น ยาวได้วันละ 0.35 มิลลิเมตร ซึ่งเส้นผมในระยะ Telogen สามารถร่วงได้ไม่เกิน 100 เส้นต่อวันในคนปกติ (หากสระผมสามารถร่วงได้ถึง 2 เท่า) แต่ถ้าผมร่วงเกิน 100 เส้นต่อวันจะทำให้สงสัยว่าอาจจะมีปัญหาผมบางหรือหัวล้านตามมาได้ โดยลักษณะของเส้นผมที่ร่วงผิดปกตินั้นจะมีความบางและรากผมที่เล็กกว่าเส้นผมปกติ
ผมบาง ผมร่วง หรือหัวล้าน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งปัจจุบันพบมากขึ้นในทุกช่วงอายุ มีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมนเพศชาย โรคทางกายบางอย่าง ภาวะขาดสารอาหารหรือการได้รับยาบางชนิด เป็นต้น
ประเภทของผมร่วง
ผมร่วงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ
- โรคผิวหนังที่ทำให้เกิดแผลเป็น เช่น Scleroderma, follicular lichen planus
- เชื้อราบนหนังศีรษะชนิด Kerion
- สัมผัสสารเคมีที่กัดผิวหนัง
- อุบัติเหตุ เช่น ผมถูกดึงรั้งเรื้อรัง (Chronic traction), แผลไฟไหม้ (Burn)
- ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ
- ผมร่วงหย่อม (Alopecia areata)
- Telogen effluvium
- การถอนผม (Trichotillomania)
- โรคติดเชื้อแบคทีเรีย
- ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
- โรคกลากบนหนังศีรษะ ยกเว้น Kerion
- ผมร่วงประเภทอื่นๆ
- ความผิดปกติของเส้นผม
- ศีรษะล้านแต่กำเนิด
ศีรษะล้าน 7 ระยะในผู้ชาย
ในผู้ชายมักจะเป็นเร็ว อาจจะเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี ซึ่งปัญหาศีรษะล้านในผู้ชายนั้นมี 7 ระยะของความรุนแรง ดังนี้
- ระยะที่ 1: ยังคงมีผมที่ดกดำตามปกติโดยไม่มีภาวะหน้าผากเถิกกว้าง และยังคงเป็นระยะที่สามารถควบคุมได้
- ระยะที่ 2: แนวผมด้านหน้าเริ่มมีการถอยร่นเข้าไปเล็กน้อย โดยเฉพาะที่ขมับทั้ง 2 ข้าง
- ระยะที่ 3: เป็นระยะที่เริ่มสังเกตเห็นปัญหาผมร่วงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากผลของ androgen (Dihydrotestosterone) ที่ทำให้ระยะ Anagen สั้นลง ซึ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบย่อย ได้แก่
- แนวผมและขมับทั้ง 2 ข้าง (temporal) เริ่มเถิกสูงขึ้นไปและกว้างขึ้น คล้ายกับตัวอักษร “M”
- ผมบริเวณกลางกระหม่อม (vertex) เริ่มบางลงจนเห็นเป็นจุดขนาดเล็ก
- ระยะที่ 4: เริ่มสังเกตเห็นปัญหาผมร่วงได้ชัดเจน คือ แนวผมที่เถิกจะบางและมีขนาดใหญ่มากขึ้น
- ระยะที่ 5: มีลักษณะคล้ายกับระยะที่ 4 แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า โดยแนวผมบริเวณขมับทั้ง 2 ข้างจะเถิกสูงขึ้น
- ระยะที่ 6: แนวผมร่วงด้านหน้าและกลางกระหม่อมแผ่ขยายเข้ามาบรรจบกัน
- ระยะที่ 7: ในระยะนี้หัวจะล้านเตียนทั้งศีรษะ โดยอาจมีผมหลงเหลืออยู่แค่บริเวณด้านหลังและด้านข้างเหนือหูเท่านั้น
ศีรษะล้าน 3 ระยะในผู้หญิง
ในผู้หญิงมักจะมีอาการช่วงอายุประมาณ 40 ปี ซึ่งปัญหาศีรษะล้านในผู้หญิงนั้นมี 3 ระยะของความรุนแรง ดังนี้
- ระยะที่ 1: เป็นระยะที่ควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องรีบเข้ารับการปลูกผม เริ่มจากการใช้ยาเป็นหลักก่อน
- ระยะที่ 2: ระยะกลาง
- บริเวณที่ผมร่วงขยายออกด้านข้างและด้านหน้ามากขึ้น
- รากผมเล็กกว่าเส้นผมปกติ (miniaturize)
- ระยะที่ 3: เป็นระยะท้าย
- บริเวณที่ผมร่วงแผ่ขยายมากขึ้นจนถึงศีรษะล้าน
- รากผมเล็กและอ่อนแอมากที่สุด
- เป็นระยะที่ทำลายความมั่นใจของเพศหญิงเป็นอย่างมาก
วิธีการป้องกันปัญหาผมร่วง
- สระผมควรสระบริเวณหนังศีรษะให้ทั่วถึงเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและหนังศีรษะเก่าและภายหลังจากการสระผมก็ควรเป่าหนังศีรษะให้แห้งเสมอ
- หลีกเลี่ยงการมัดผมหรือการดึงรั้งเส้นผม เพื่อป้องกันไม่ให้ผมร่วงจากแรงดึง (Traction alopecia)
- หลีกเลี่ยงการย้อมผมด้วยน้ำยาที่มีส่วนประกอบของสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้
- ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารเสริมที่บำรุงเส้นผม เช่น โปรตีน, ไบโอติน, สังกะสี และซิลิกา เพื่อเสริมสร้างการเกิดใหม่ของเส้นผม
แนวทางการรักษาอาการผมบาง ผมร่วง ศีรษะล้าน
- ยาเฉพาะที่
- 3% minoxidil ทาเช้า-เย็น อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อกระตุ้นรากผม แล้วติดตามการตอบสนองต่อยาเป็นประจำทุก 6-12 เดือน
- Topical steroid ชนิดแรง ทาเช้า-เย็น หรือฉีด intralesional steroid ทุก 4 สัปดาห์
- การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) ที่อุดมไปด้วย Growth factors
- การฉายแสงสีแดงพลังงานต่ำเพื่อช่วยฟื้นฟูรากผมให้แข็งแรงและหนาแน่นขึ้น (Red light therapy)
- Exo Hair Micro RNA ช่วยเร่งการเติบโตของเส้นผม ซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์บริเวณหนังศีรษะ
- ยารับประทาน
- Finasteride ใช้รักษาศีรษะล้านในผู้ชายได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียง เช่น ความต้องการทางเพศลดลงหรืออวัยวะเพศไม่แข็งตัว
- Oral steroid ในรายที่ผมร่วงหมดทั้งศีรษะ แต่ก็มักจะเกิดผลข้างเคียงของ steroid ได้และสามารถเกิดปัญหาผมร่วงซ้ำได้หลังจากหยุดยา
ข้อดีของ Exo Hair Micro RNA
- ผมหนาและดกดำโดยไม่ต้องปลูกผม
- หยุดผมร่วงได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น
- ฟื้นฟูได้ถึงเนื้อเยื่อของเซลล์รากผม ช่วยให้รากผมกลับมาแข็งแรง
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique