อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการออฟฟิศซินโดรมมักเกิดขึ้นกับวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่ โดยมักพบอาการปวดเรื้อรังบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง สะโพก ข้อมือไปจนถึงนิ้ว ซึ่งบางรายมีอาการปวดมากจนไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการกินยาหรือผ่าตัดกันเลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรที่จะป้องกันหรือรักษาออฟฟิศซินโดรมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพกันได้ในภายหลัง ดังนี้
- ไม่นั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป
หนึ่งในสาเหตุของออฟฟิศซินโดรม คือการนั่งอยู่ที่เดิมเป็นเวลานาน โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อยืดเส้นยืดสาย ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป อย่างน้อยควรหาเวลาเพื่อลุกขึ้นมายืนยืดเส้นยืดสาย หรือเดินจากโต๊ะทำงานไปสูดอากาศพักผ่อนด้านนอกกันบ้าง
- นั่งทำงานอยู่ในท่าที่ถูกต้อง
ในการนั่งทำงานควรที่จะนั่งหลังตรง ไม่นั่งหลังค่อมหรือเอนหลัง เพราะนอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าจนก่อให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังดูเสียบุคลิกอีกด้วย ซึ่งตรงนี้จะต้องดูสภาพแวดล้อมในการทำงานอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย เช่น โต๊ะและเก้าอี้ทำงานว่าเหมาะสมกับสรีระหรือไม่ รวมไปถึงอาจจะหาอุปกรณ์หรือหมอนรองด้านหลังเพื่อช่วยให้นั่งหลังตรงกันก็ได้
- ไม่จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน
หนึ่งในอาการออฟฟิศซินโดรมที่พบเจอได้บ่อยนอกจากอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดบ่าหรือไหล่แล้ว ยังมีอาการตาแห้ง ตาล้า ที่เกิดมาจากการจ้องหน้าจอเป็นเวลานานเกินไปอีกด้วย ดังนั้นควรพักผ่อนสายตาทุก ๆ 1 ชั่วโมง โดยอาจจะเลือกเปลี่ยนอิริยาบถไปพร้อม ๆ กับการพักสายตาด้วยก็ได้
- ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย และช่วยบรรเทารักษาออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี โดยแนะนำให้เลือกออกกำลังกายที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ
- การใช้ยาและเวชศาสตร์ฟื้นฟู
เป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมในรายที่เริ่มมีอาการรุนแรง หรือมีอาการเรื้อรัง โดยอาจจะเริ่มตั้งแต่การใช้ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ การใช้เครื่องมือทางกายภาพ การฝังเข็ม ซึ่งการรักษาออฟฟิศซินโดรมต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องทำการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยประเมินอาการก่อนทำการรักษาค่ะ
การใช้คลื่นกระแทก HYPER SHOCKWAVE 25Hz
เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีกายภาพบำบัดที่ทำงานโดยใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของคลื่นกระแทก เพื่อกระตุ้นให้บริเวณที่มีอาการปวดเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ทำให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ในบริเวณนั้น ๆ จึงสามารถช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในบริเวณที่ทำการรักษาได้
ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมจะเป็นการดีที่สุด แต่ถ้าหากเป็นออฟฟิศซินโดรมไปแล้ว ก็ควรที่จะรักษาออฟฟิศซินโดรมกันแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรง เพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงาน จนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกันเลยก็ได้
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique