“ออฟฟิศซินโดรม” ปัญหายอดฮิตของวัยทำงาน ออฟฟิศซินโดรม(Office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain syndrome) หรืออาการปวดจากการอักเสบของเอ็น (Tendinitis) เนื่องจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ ปวด ชา ซึ่งอาจเป็นมากขึ้นจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง พบบ่อยในพนักงานออฟฟิศ
ออฟฟิศซินโดรมพบมากบริเวณไหน?
- คอ เช่น กล้ามเนื้อ Occiput หรือ Lower cervical muscle
- หลัง เช่น กล้ามเนื้อ Supraspinatus
- บ่าและไหล่ เช่น กล้ามเนื้อ Trapezius
- ก้น เช่น กล้ามเนื้อ Gluteus เป็นต้น
สาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม(Office syndrome) มีสาเหตุที่เพิ่มโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว ได้แก่
- ท่าทางการทำงาน (Poster) ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานาน พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงและอักเสบตามมาได้ เช่น นั่งหลังค่อมหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ใช้แป้นกดคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีแผ่นรองรับข้อมือ เป็นต้น
- การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือหรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- สิ่งแวดล้อมที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่น รูปแบบโต๊ะทำงาน แสงสว่างในห้องทำงาน เก้าอี้ทำงาน เป็นต้น
จะบรรเทาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร?
กลไกบรรเทาอาการเจ็บปวดจาก Office syndrome โดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นกระแทก(ESWT) สามารถอธิบายด้วยทฤษฎีควบคุมประตูที่เรียกว่า “Gate control mechanism” ได้ดังนี้
- Shockwave กระตุ้นเชิงกลที่บริเวณเส้นประสาท thick nerve fibres
- Thick nerve fibres ยับยั้งการส่งกระแสประสาทไปยัง Spinal gate
อีกทั้งคลื่นกระแทกรักษา(ESWT) ยังสามารถลดอาการปวดเรื้อรังโดยการลดการหลั่งสาร “Substance P” ที่เกี่ยวของกับการรับรู้ความเจ็บปวดของร่างกายได้อีกด้วย(Regulation of substance P)
ESWT(Extracorporeal shockwave therapy) คืออะไร?
Extracorporeal shockwave therapy (ESWT) คือ การรักษาด้วยเครื่องกำเนิดคลื่นกระแทกภายนอกร่างกาย โดยมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ลักษณะของคลื่นกระแทก
- Focus shockwave หรือคลื่นกระแทกแบบกระจายต่ำ
- Radial shockwave หรือคลื่นกระแทกแบบกระจายสูง
- ระดับความหนาแน่นของพลังงาน (energy density)
- Extracorporeal shockwave ที่มีความหนาแน่นของพลังงานสูง(High energy density ESW) มุ่งเน้นที่ “Mechanical damage characteristics” ดังนั้นจึงนิยมนำมาใช้ในการรักษาคนไข้นิ่ว (Stones)
- Extracorporeal shockwave ที่มีความหนาแน่นของพลังงานปานกลาง(Medium energy density ESW) คลื่นกระแทกระดับนี้มีคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบ(anti-inflammatory function)และมักถูกใช้ในการรักษาคนไข้ในแผนกศัลยกรรม ยกตัวอย่างเช่น ถุงหล่อลื่นบริเวณข้อต่ออักเสบ(Synovial bursitis) และ Non-binding fracture
- Extracorporeal shockwave ที่มีความหนาแน่นของพลังงานต่ำ(Low energy density ESW) หรือ LI-ESWT สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ได้(neovascularization) และเพิ่มกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะปลายทาง(improve blood supply)
Focus Shockwave VS Radial Shockwave
อย่างไรก็ดี ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกี่ยวกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือโรคกล้ามเนื้อยึดตึง(Myofacial syndrome) จึงควรใช้ Radial shock wave แต่อาจพิจารณาใช้ Focus shock wave ในกรณีจุดปวดอยู่ลึกมาก เช่น เอ็นอักเสบ กล้ามเนื้อส่วนลึกปวดเกร็ง เป็นต้น
ใครบ้างที่เหมาะกับ HYPER SHOCKWAVE 25Hz ?
- ผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการเจ็บปวดจากออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่อยากผ่าตัด (non-invasive solution)
- ผู้ที่ต้องการลดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง(persistent pain)ของเนื้อเยื่อเฉพาะที่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณ หัวไหล่ ข้อศอก หรือ หัวเข่า เป็นต้น
ขณะทำ HYPER SHOCKWAVE 25Hz รู้สึกอย่างไร?
- คนไข้จะรู้สึกได้ถึงแรงกดดันเหนือต่อบริเวณจุดกดเจ็บ(painful spot) ซึ่งอยู่ในระดับที่คนไข้สามารถทนได้แบบสบายๆ (well-tolerated) อย่างไรก็ดีการรักษาด้วย Extracorporeal shock wave จะถูกปรับเปลี่ยนไปตาม feedback ของคนไข้ตลอดการทำหัตถการ ดังนั้นจึงปลอดภัย
ข้อดี(Advantage)
- เป็นทางเลือกใหม่ที่ดีสำหรับคนไข้ออฟฟิศซินโดรมที่รักษาไม่หายด้วยการกินยา
- ใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ประมาณ 10 นาที (ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน)
- เป็นหัตถการที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่เจ็บ
- บรรเทาอาการปวดได้ทันทีหลังทำครั้งแรก
- ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
- สามารถทำซ้ำได้ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จำนวน 4-8 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อห้าม(Contraindication)
- บริเวณที่จะรักษาด้วย Shock wave เป็นบริเวณเดียวกันกับบริเวณที่จะบริหารยาสเตียรอยด์ (Corticosteriods)
- บริเวณที่มีอุปกรณ์เทียมฝังอยู่ในร่างกาย(implants) ทั้งแบบ Electronic implants และ Metal implants
- บริเวณแผ่นเจริญเติบโตของกระดูก(Growth plate area)
- บริเวณอวัยวะที่มีองค์ประกอบของแก๊ส เช่น ปอดทั้งสองข้าง
- ดวงตาและบริเวณรอบๆ ดวงตา(The eyes and the surrounding area)
- บริเวณศีรษะและลำคอ(Head and neck area)
- บริเวณหัวใจ(Heart area)
- บริเวณกระดูกสันหลัง(Spine area)
- โรคเลือดหรือมีความผิดปกติของระบบเลือด(Blood disorder)
- มะเร็ง(Cancer)
- ตั้งครรภ์(Pregnancy)
HYPER SHOCKWAVE 25Hz …ต้องที่ THE KLINIQUE
- ประสิทธิภาพสูงถึง 95% (95% therapy efficiency)
- พัฒนามาตรฐานการรักษาและเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้
- มีเทคโนโลยี Extracorporeal shock wave therapy (ESWT) ทั้งแบบ Radial shock wave และ Focus shock wave ที่ได้มาตรฐาน
- มีการประเมินปัญหาของคนไข้รายบุคคล(Personalization)ทั้งก่อนและหลังทำหัตถการคลื่นกระแทกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถแก้ไขปัญหาออฟฟิศซินโดรมของคนไข้ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
คำแนะนำหลังได้รับการรักษาด้วย HYPER SHOCKWAVE 25Hz
- ระยะฟื้นตัวไม่นาน
- ควรได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 4-8 ครั้ง
- สามารถกลับมาทำซ้ำได้ (ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์และอาการของคนไข้แต่ละบุคคล)