ขนคุดคืออะไร ?
Ketosis Pilaris (KP) เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยบริเวณแขนและขาอ่อนด้านนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มแข็งขนาดเล็กตามรูขุมขน ในบางรายมีการอักเสบเป็นตุ่มแดง คัน อาจพบร่วมกับโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวานและโรคไทรอยด์ และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ด้วย โดยพบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ใหญ่จะมีปัญหาขนคุดและร้อยละ30-50 ของผู้ที่มีปัญหานี้จะมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นแบบเดียวกัน
ขนคุดเกิดจากอะไร ?
- เกิดจากการสร้างเซลล์ผิวหนังที่รูขุมขนผิดปกติหรือมีการสร้างเคราตินออกมามากจนเกินไป(keratinization) ทำให้มีการอุดตันบริเวณรูขุมขนหรือความผิดปกติของการสร้างเส้นผม ทำให้ขนไม่สามารถงอกทะลุผิวหนังออกมาได้ตามปกติ เส้นขนจึงถูกฝังอยู่ใต้ผิวหนัง(ingrown hair) และมีลักษณะเป็นตุ่มนูนขึ้นมา และมักมีผื่นมากขึ้นเมื่อผิวแห้งหรืออากาศแห้ง แต่ส่วนใหญ่จะมีผื่นลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
- อาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
- อาจสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ เช่น ผื่นอักเสบผิวหนัง(Atopic dermatitis), หอบหืด(Asthma), ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ(Hypothyroidism), โรคคุชชิง(Cushing’s syndrome), เบาหวาน(Diabetes) หรือโรคอ้วน(Obesity)
- มีปัญหาผิวแห้งเกินไป
- มีวิธีการกำจัดขนที่ไม่ถูกต้อง
อาการของขนคุดมีอะไรบ้าง ?
ขนคุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- มีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง
- มักเกิดขึ้นที่แขนส่วนบน รักแร้ ต้นขา แก้ม ก้นหรือสะโพก
- อาจทำให้เกิดอาการคันและเจ็บ
- บริเวณผิวหนังที่เป็นตุ่มจะมีผิวที่แห้งและหยาบกร้าน(dry skin)
- เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อมีความชื้นในอากาศน้อย มักจะทำให้อาการแย่ลงหรือผิวบริเวณที่เป็นขนคุดแห้งกว่าเดิม
- เมื่อลูบที่ผิวหนังจะทำให้รู้สึกคล้ายกระดาษทราย(sandpaper-like skin)
ขนคุดมีอาการคล้ายกับโรคอะไรได้บ้าง ?
- โรคผื่นแพ้อักเสบ(Eczema): พบได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยชรา มีอาการผื่นแดง คัน เกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย มักจะกำเริบได้ง่าย ระยะเวลาที่เป็นรวมถึงความรุนแรงของโรคแตกต่างกันไปในรายบุคคล ผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้อักเสบ หอบหืด ภูมิแพ้อากาศ จะมีโอกาสเป็นโรคผื่นแพ้อักเสบมากกว่าปกติ
- โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis): มีอาการชัดเจนคือผิวหนังอักเสบเป็นขุยสีขาว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ร่วมด้วย เช่น โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การติดเชื้อราบริเวณผิวหนัง(Fungal infection): เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะกับอากาศแบบร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดที่ผิวหนังชั้นตื้น มีอาการส่วนใหญ่คือระคายเคือง คัน บวมแดง แสบร้อนที่ผิวหนังเกิดขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น กลาก เกลื้อน สังคัง เป็นต้น
ขนคุดเกิดขึ้นที่บริเวณไหนได้บ้าง ?
- ขนคุดบริเวณผิวหน้า ใบหน้า
- ขนคุดบริเวณแขน ข้อศอก ใต้วงแขน รักแร้
- ขนคุดบริเวณหลัง หรือ ลำตัว
- ขนคุดบริเวณแก้มก้น
- ขนคุดบริเวณขา น่อง ต้นขา หัวเข่า
ปัญหาผิวที่อาจตามมาจากการเกิดขนคุด
- สิวขนคุด, ขนคุดอักเสบ หรือผิวหนังมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป(post-inflammatory hypo/hyperpigmentation)
- แผลเป็น(permanent scarring) ซึ่งเป็นผลจากการที่คนไข้แกะเกาหรือขัดถูบริเวณที่เป็นขนคุด
วิธีรักษาขนคุด
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ผิวแห้ง เช่น การอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูงมากเกินไปหรือการอาบน้ำนานๆ
- การใช้โลชันทาผิวให้ความชุ่มชื้น(moisturizer)
- หลีกเลี่ยงการใช้ครีมบำรุงผิวชั่วคราว เพราะครีมบำรุงผิวบางชนิดมีส่วนผสมของน้ำมันหรือน้ำหอม ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณรอบรูขุมขนได้มากขึ้น
- การใช้ยาทาเพื่อให้ keratin ที่อุดตันรูขุมขนหลุดออก
- ยากลุ่มช่วยผลัดเซลล์ผิว เช่น 20% urea cream, AHA, BHA หรือ กรดซาลิไซลิก(Salicylic acid) กรดแล็กติกและควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- หากมีอาการมากเป็นเวลานาน อาจใช้กรดวิตามินเอสำหรับรักษาสิวเพื่อบรรเทาอาการ แต่อาจทำให้ระคายเคืองได้ โดยควรเริ่มที่ความเข้มข้นต่ำๆ ก่อน เช่น 025% Retin-A cream
- ยากลุ่ม steroid ใช้ในกรณีที่ขนคุดมีอาการแดง คัน อักเสบ โดยทาเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- เลเซอร์กำจัดขนคุด เหมาะสำหรับคนไข้ที่ต้องการกำจัดขนคุดแบบถาวรเพราะกำจัดเส้นขน ยับยั้งขนคุดตั้งแต่ต้นเหตุ ช่วยให้ผิวเรียบเนียน เกลี้ยงเกลาและไม่เป็นหนังไก่ เช่น Intense Pulsed Light (IPL), V-beam, YAG laser
การถอนขนคุด เป็นวิธีรักษาที่ง่ายที่สุด คือ ใช้แหนบค่อย ๆ ดึงขนคุดที่โผล่ขึ้นมาออก แต่ห้ามดึงแรงจนเกินไป หรือห้ามใช้เข็มสะกิดเพื่อเปิดผิว เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบและระคายเคืองตามมาได้
ขนคุดใช้ระยะเวลารักษานานแค่ไหน?
- ผลลัพธ์ของการรักษาขึ้นอยู่กับวิธีที่เลือกใช้กำจัดขนคุด
- หากคนไข้มีสภาพผิวที่เปลี่ยนแปลงไปก็อาจหายไปได้เอง แต่หากปล่อยไว้นานจนเกินไปโดยไม่เข้ารับการรักษา อาจพัฒนาไปเป็นขนคุดอักเสบได้
วิธีป้องกันขนคุด
- ไม่ควรไปแกะหรือเกาบริเวณที่เป็นขนคุดเด็ดขาด
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูงนานจนเกินไป เพราะการอาบน้ำร้อนหรืออยู่ในน้ำนานจะทำให้ไขมันที่ผิวถูกกำจัดไป ส่งผลให้ผิวหนังแห้งและขาดความชุ่มชื้น
- ใช้ครีมบำรุงที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งกร้าน
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันหรือน้ำหอม
- หลีกเลี่ยงอากาศแห้ง ร้อนจัด
- ขัดผิวสม่ำเสมอ คือการผลัดเซลล์ผิวไม่ให้อุดตันในรูขุมขน โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น ใยบวบขัดผิว ขมิ้น มะขามเปียก เป็นต้น
- เลือกวิธีกำจัดขนที่ถูกต้องเหมาะสม
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique