ฟิลเลอร์ คืออะไร ?
ฟิลเลอร์ คือสารเติมเต็มที่นิยมนำมาใช้แก้ปัญหาบนใบหน้าเช่น ขอบตาดำคล้ำ ร่องแก้มลึก แก้มตอบ ขมับตอบ ร่องใต้ตาลึกหรือคางสั้น เป็นต้น การฉีดฟิลเลอร์ไม่ต้องผ่าตัด เห็นผลลัพธ์ทันที โดยฟิลเลอร์แท้จะสามารถสลายตัวไปเองได้ ฟิลเลอร์ที่รู้จักกันเป็นวงกว้าง คือ ฟิลเลอร์ที่เป็นสารเติมเต็มพวก Hyaluronic Acid ซึ่งมีความปลอดภัยและผ่านองค์การอาหารและยาของประเทศไทย(อย.)
ในทางกลับกัน ฟิลเลอร์ปลอม เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ทิ้งสารตกค้างเป็นก้อนไว้ในชั้นผิว อาจก่อให้เกิดการอักเสบ บวมแดง พังผืดหรือเน่าจนทำให้ใบหน้าเสียรูปทรงถาวร
ฟิลเลอร์มีกี่ประเภท ?
ฟิลเลอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- แบบชั่วคราว(temporary filler) สามารถอยู่ได้ประมาณ 4-6 เดือนและสลายได้เอง
- แบบกึ่งถาวร(semi-permanent filler) สามารถอยู่ในนานถึง 2 ปี
- แบบถาวร(permanent filler) หรือ ฟิลเลอร์ปลอม ไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติไม่ผ่านการรับรองจาก อย.
ในประเทศไทยฟิลเลอร์ปลอม คือ ฟิลเลอร์ที่ใช้สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวรและแบบถาวร เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน เป็นต้น โดยสารเติมเต็มในฟิลเลอร์ชนิดเดียวที่ผ่านอย.ไทยคือ สารเติมเต็มไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นฟิลเลอร์แบบชั่วคราว
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร ?
ฟิลเลอร์ปลอม คือ ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปแล้วทิ้งสารตกค้าง ไม่สลายหายไป หรือไหลเป็นก้อนจนทำให้เกิดอาการแพ้ อักเสบหรือติดเชื้อตามมาได้
ฟิลเลอร์ปลอมอันตรายอย่างไร ?
สมัยก่อนซิลิโคนเหลวถือว่าได้รับความนิยม เพราะอยู่ได้นานและราคาไม่แพง แต่เมื่อเวลาผ่านไปผลเสียเริ่มปรากฏให้เห็น โดยมีลำดับการดำเนินโรคหลังจากฉีดเข้าสู่ร่างกาย ดังนี้
- ช่วงแรกหลังจากฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าสู่ร่างกาย อาจจะยังไม่แสดงอาการใดๆ
- 3-5ปี ฟิลเลอร์ปลอมเริ่มไหลกองลงมาเป็นก้อน บวม ห้อยย้อย เป็นก้อนแข็ง
- เกิดกระบวนการอักเสบหรือติดเชื้อ (inflammation/infection)
- มีหนองหรือน้ำเหลืองซึมจากการใช้ฟิลเลอร์
- เนื้อตายหรือเกิดพังผืด (necrosis/adhesion)
- ส่งผลเสียต่อผิวบริเวณที่ฉีดในระยะยาว
- มีสารตกค้างอยู่ในชั้นผิว เกิดเป็นตุ่ม ก้อน หรือผิวหนังขรุขระ
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดรูป เช่น จมูกไม่เป็นสัน แก้มห้อย
- อาจเป็นสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดอุดตันหรือแตกได้
- ไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ ต้องผ่าตัดหรือขูดออกเท่านั้น ซึ่งต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่สามารถใช้ยา Hyaluronidase ฉีดสลายได้
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ ไม่เสี่ยงเจอฟิลเลอร์ปลอม
ปัจจุบันมีฟิลเลอร์ปลอมที่ทำเลียนแบบของแท้อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงกล่องบรรจุภัณฑ์ก็ทำออกมาได้เหมือนกับของแท้มากๆ หากไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ อาจหลงผิดไปใช้ฟิลเลอร์ปลอมได้ จึงต้องมีวิธีการคัดแยกฟิลเลอร์ปลอมออกจากฟิลเลอร์แท้ ดังนี้
- ราคา
- หากพบว่าราคาถูกมากเกินไปให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะเป็นของปลอม
- ฉลากภาษาไทย
- ฟิลเลอร์แท้ในประเทศไทยต้องผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศไทย จึงควรสังเกตฉลากภาษาไทยข้างกล่องว่ามีเลขทะเบียน อย. และเอกสารกำกับภาษาไทยหรือไม่ อีกทั้งต้องมีรายละเอียดของสินค้า เช่น วันหมดอายุ ข้อมูลเกี่ยวกับสารฟิลเลอร์และราคาระบุไว้อย่างชัดเจน
- หากฟิลเลอร์ชนิดไหน ไม่มีฉลากภาษาไทยในส่วนนี้ระบุอยู่ ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะเป็นของปลอม
- มาตรฐานความปลอดภัย
- ฉลากของฟิลเลอร์ของแท้นั้นจะต้องมีการระบุถึงมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยาของประเทศไทย (อย.)
จุดสังเกตฟิลเลอร์แท้ภายในกล่อง
- ตัวยาถูกบรรจุอยู่ในแพ็คเกจที่ปราศจากเชื้อ (sterile) พร้อมคู่มือการใช้งาน
- แพ็คเกจประกอบไปด้วย เข็ม หลอดยาที่ถูกปิดไว้ด้วยหัวจุก
- ด้านหลังแพ็คเกจจะพบหมายเลข lot และวันหมดอายุของยาติดเอาไว้
- ด้านของของตัวหลอดมีหมายเลข lot ที่ตรงกันกับเลข lot บริเวณอื่นๆ
วิธีการหลีกเลี่ยงฟิลเลอร์ปลอม
ผู้บริโภคควรตรวจสอบมาตรฐานของคลินิกที่จะเข้ารับการรักษาให้ดีก่อนว่าเป็นคลินิกที่ ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่
- แพทย์ผู้ทำหัตถการฉีดฟิลเลอร์เป็นแพทย์จริงหรือไม่
- แพทย์ผู้ทำหัตถการฉีดฟิลเลอร์มีประสบการณ์มากเพียงพอหรือไม่
- มีประสบการณ์อย่างน้อย 5-10ปี
- ประเมินปัญหาได้แม่นยำ
- วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
- ตรวจสอบฟิลเลอร์ว่าแท้หรือไม่ ได้รับการรับรองจากทางองค์การอาหารและยาของประเทศไทยหรือไม่
- หลีกเลี่ยงฟิลเลอร์ตามอินเตอร์เน็ต เพราะฟิลเลอร์แท้เป็นยาควบคุม ไม่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นฟิลเลอร์ตามอินเตอร์เน็ต จึงมีโอกาสเป็นฟิลเลอร์ปลอมสูงมาก
- ควรให้แพทย์แกะบรรจุภัณฑ์และหลอดฟิลเลอร์ให้ดูต่อหน้า
- หลังฉีดควรถ่ายรูปหรือเก็บกล่องและหลอดฟิลเลอร์ไว้ เพื่อใช้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ โดยการสแกน QR code ที่ข้างกล่อง
- หลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์กับผู้ที่แอบอ้างเป็นแพทย์หรือหมอกระเป๋า เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ย่อยสลายแล้ว ยังเสี่ยงต่อการฉีด
ฟิลเลอร์ด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอันตรายมาก - ควรให้ความใส่ใจด้านคุณภาพและความปลอดภัย
- เลือกฉีดฟิลเลอร์จากคลินิกที่ได้มาตรฐาน ทำหัตถการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
เพราะความสวยของคุณคือความสุขของเรา ให้ THE KLINIQUE ดูแลคุณ
สอบถามโปรโมชั่นหรือปรึกษาปัญหาผิวและรูปร่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
Line OA: http://bit.ly/TheKlinique